Pakorn's Blog

Helping you to bring your concepts and ideas to life.

ลงทะเบียนรับ 3G SIM ฟรี!!


อีกเจ้าที่เปิดตัว 3G ตามต่อจาก TOT3G ก็คือ 365 Communication นั่นเอง ซึ่ง 365 Communication เป็นหนึ่งใน partner ของ TOT นั่นเอง

รอลุ้นกับความหวัง 3G ที่แท้จริงของประเทศไทย กันครับ :)

สามารถลงทะเบียนรับซิม 3G ได้ที่:
http://www.365.co.th


365 ร่วมกับ บมจ.ทีโอที
เวปไซด์ 365.co.th ร่วมกับ บมจ.ทีโอที กับบริการ 3G ครั้งแรกในเมืองไทย ด้วยความเร็ว 7.2mbps ทั่วกรุงเทพและเขตปริมณทล ง่ายๆ ไม่ต้องเสียตังค์ เพียงแค่ลงชื่อเพื่อรับซิม 3G ฟรีได้ที่นี่


3G คืออะไร ที่นี่มีคำตอบ
หลายๆ คนคงได้ยินบ่อยขึ้นเรื่อยๆ กับคำว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สามหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า 3G และเป็นเรื่องที่น่าสนใจทั้งด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่และธุรกิจที่มีมูลค่า มหาศาล อีกทั้งการทำการตลาดที่ดุเดือดเพื่อแย่งชิงลูกค้า แต่หากมีคนถามเราว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สามหรือ 3G คืออะไร? เราเองมักจะตอบกลับไปง่ายๆ ว่าก็โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคต่อไปไงล่ะครับ หลายคนๆ ก็อ่านหนังสือพิมพ์มาอธิบายบ้าง จำในนิตยสารมาบ้าง แล้วผสมผสานเล่าอธิบายกันไปตามเนื้อความที่ตนรับมา บ้างก็ตรงกันบ้างก็ไม่ตรงกัน บ้างก็ยังสับสน แต่หากเราต้องการคำตอบจริงๆ ว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สามหรือ 3G นั้นแท้จริงแล้วคืออะไร มีใครนิยามเป็นทางการไว้หรือไม่และนิยามว่าอย่างไรกันนะ เผื่อเอาไว้ใช้อ้างอิง โดยเฉพาะคนที่ต้องการตัวหนังสือที่ชัดเจนมายืนยัน ผมเลยนำมาเล่าเป็นเรื่องราวเชิงวิชาการแบบภาษาชาวบ้าน

     คำตอบก็คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม หรือ Third Generation of Mobile Telephone หรือ เรียกย่อว่า 3G นั้น ITU (International Telecommunication Union) หรือ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นองค์กรชำนัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ ทำหน้าที่ให้คำแนะนำและวางหลักเกณฑ์ในบริหารการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมให้ กับประเทศสมาชิกต่างๆ ทั่วโลก ได้มีแนวทางในการวางหลักเกณฑ์การบริหารทรัพยากรโทรคมนาคมของแต่ละประเทศ เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

     ITU ได้ให้มีการกำหนดมาตรฐานสิ่งที่เรียกว่า เครื่องโทรคมนาคมแบบเคลื่อนที่ ซึ่งรวมถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วย (อุปกรณ์โทรคมนาคมในยุคต่อไปอาจจะใช้รวมกันหลายชนิด ทั้งโทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือดาวเทียม เป็นต้น) เรียกรวมกันว่ามาตรฐาน IMT-2000 (International Mobile Telecommunications-2000) ซึ่ง ITU ได้กำหนดความหมายของมาตรฐานดังกล่าวในเชิง ย่านความถี่ (Spectrum Band) และมาตรฐานการเชื่อมต่อทางเทคนิค (Technical Standard) อธิบายรายละเอียดยาวไปเดี๋ยวจะจับประเด็นไม่ได้ผมสรุปเลยดีกว่าว่า เจ้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สามมันมีลักษณะทางเทคโนโลยีอย่างไร ทำอะไรได้บ้าง
นิยาม (Definition)

โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม หรือมาตรฐาน IMT-2000 นั้นนิยามสั้นๆ เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่า

    * “ต้องมี แพลทฟอร์ม(Platform) สำหรับการหลอมรวมของบริการต่างๆ อาทิ กิจการประจำที่ (Fixed Service) กิจการเคลื่อนที่ (Mobile Service) บริการสื่อสารเสียง ข้อมูล อินเตอร์เน็ต และ พหุสื่อ (Multimedia) เป็นไปในทิศทางเดียวกัน” คือ สามารถถ่ายเท ส่งต่อข้อมูล ดิจิตอล ไปยังอุปกรณ์โทรคมนาคมประเภทต่างๆ ให้สามารถรับส่งข้อมูลได้
    * “ความสามารถในการใช้โครงข่ายทั่วโลก (Global Roaming)” คือ ผู้บริโภคสามารถ ถืออุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้ได้ทั่วโลก โดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่อง
    * “บริการที่ไม่ขาดตอน (Seamless Delivery Service)” คือ การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยน เซลล์ไซต์ (Cell Site) เขาใช้คำว่า Seam less นั้นแปลว่า ไร้รอยตะเข็บนะครับ
    * อัตราความเร็วในการส่งข้อมูล (Transmission Rate) ในมาตรฐาน IMT-2000 นั้นกำหนดไว้ว่าต้องมีอัตราความเร็ว

        > มากกว่า 144 กิโลบิต/วินาที ในทุกสภาวะ
        > ถึง 2 เมกกะบิต/วินาที ในสภาวะกึ่งเคลื่อนที่
        > สูงถึง 384 กิโลบิต/วินาที ในสภาวะเคลื่อนที่

    นั่นแหละครับคือนิยามที่ ITU ให้ความหมายไว้ อ้อยังมีอีกเรื่องก็คือ ITU ได้กำหนดมาตรฐานการเชื่อมต่อความถี่วิทยุ ไว้ 5 มาตรฐานด้วยกันครับ ที่จำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานนั้นก็เพราะว่า ปัจจุบันผู้พัฒนาเทคโนโลยีหลายๆ ค่ายต่างพัฒนาได้รวดเร็วและหลากหลายวิธีการ ดังนั้นหากไม่มีการกำหนดมาตรฐานผลเสียอาจจะไปตกที่ผู้บริโภคเนื่องจากไม่ สามารถใช้สินค้า (โทรศัพท์) เชื่อมต่อกันได้ และปัญหาที่สำคัญคือการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย และอุปกรณ์เครือข่าย เข้าเรื่องดีกว่ามาตรฐานการเชื่อมต่อคลื่นความถี่ของ IMT-2000 มีดังนี้ครับ

    มาตรฐานการเชื่อมต่อทางคลื่นวิทยุตามมาตรฐาน IMT-2000 ซึ่งระบุไว้ใน Recommendation ITU-R M.1457 ประกอบไปด้วยห้ามาตรฐานดังนี้ครับ (www.itu.int)

   1. WCDMA
   2. CDMA2000
   3. TD-SCDMA
   4. EDGE
   5. DECT

    ในโลกโทรคมนาคมยุคต่อไป หรือโดยเฉพาะระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคต่อไป ความหมายหรือนิยามการทำงาน หรือเทคโนโลยี เขาจะเน้นไปที่ความเร็วในการรับส่งข้อมูลครับ เช่น สามจี เหรอ หมายถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่สามารถรับส่งข้อมูลที่มีความเร็วได้ตั้งแต่ 144 kbps ถึง 2 Mbps ประมาณนั้นครับ หรือ เทคโนโลยี GPRS มีอัตราเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 144 kbps และเทคโนโลยี EDGE มีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลเท่ากับ 384 kbps เป็นต้นครับ

     มีผู้รู้หลายๆ ท่านในวงการโทรคมนาคมถกเถียงกันว่า EDGE ถือเป็น สามจีแล้วนะ หรือบ้างก็ว่า GPRS ก็ต้องเป็นสามจีด้วยสิ เพราะมีความเร็วเท่ากับนิยาม ITM-200 ของ ITU กำหนดไว้ และสำนักงาน กทช. เองก็ได้ให้นิยาม IMT-2000 ไว้เช่นเดียวกับที่ผมนำมาอธิบายให้ฟังข้างต้นแล้ว(นิยาม) ในเอกสานประกอบการทำประชาพิจารณ์แบบเฉพาะกลุ่ม (Focus Group) ที่ผ่านมา ผมเลยคิดเอาเองเป็นความเห็นส่วนตัวว่า บ้านเมืองเรานักกฎหมายเค้าดูตามตัวหนังสือเลยครับยืนยันชัดเจน ถ้าระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่สามารถทำงานได้ตาม “นิยาม” ข้างต้นทุกข้อแล้ว ไม่ถือว่าเป็น สามจี ครับ ซึ่งบางระบบอาจจะทำได้บางข้อเท่านั้น

    แต่ในความจริงแล้ว ในอดีตเราไม่เคยมีใครนิยามไว้เป็นทางการหรอกครับ ว่าอะไรคือโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 1 อะไรคือโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่2 หรืออะไรคือโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 2.5 ล้วนซึ่งอาจจะเกิดจากความเข้าใจตามบทความ โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคแรก นั้นเขาก็เปรียบให้เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ อนาลอก (Analog) ครับ อย่างเช่น (NMT) Nordic Mobile Telephone ในบ้านเราในอดีตก็มีย่าน 470 ย่าน 800 ย่าน 900 ประมาณนั้นครับ ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาระบบขึ้นที่เรียกกันว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สอง ซึ่งก็เปลี่ยนจากสัญญาณ อนาลอก มาเป็นสัญญาณ ดิจิตอล ครับ หรือระบบโทรศัพท์ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั่นเอง อาทิเช่น ระบบ GSM (Global System for Mobile Communications) เป็นต้นครับ ถ้าจำไม่ผิดระบบดิจิตอล เซลลูล่าร์ ที่เราใช้กันอยู่ปัจจุบันน่าจะมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลประมาณ 64 kbps พูดให้เข้าใจง่ายว่าเหมือนเราต่อ อินเตอร์เน็ต ผ่านสายโทรศัพท์บ้านธรรมดาเท่านั้นเอง และผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Operators) ได้ติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมเสริมปริทธิภาพการทำงานของระบบให้รวดเร็วขึ้น จึงพัฒนาให้ระบบมีความเร็วขึ้นเป็นเทคโนโลยี GPRS และเทคโนโลยี EDGE ตามลำดับ

    อย่างที่ผมกล่าวถึงข้างต้นว่า ในการพัฒนาเทคโนโลยีของผู้ผลิตหลายๆ ค่าย ต่างคนต่างพัฒนา การใช้งานอาจจะส่งผลกระทบถึงผู้บริโภค เช่น เรียกข้ามเครือข่ายไม่ได้ ดังนั้นจึงพยายามบีบให้เหลือมาตรฐานทางเทคโนโลยีน้อยที่สุด ซึ่งก็ยังมีถึง 5 มาตรฐานตาม IMT-2000 ดังที่กล่าวมาแล้ว ทีนี้เรามาดูกันว่าจากระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน จะสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพเครือข่ายไปยัง สามจี อย่างไร ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า Evolution Paths

    ซึ่งเข้าใจได้ง่ายจากภาพที่ ITU ให้ไว้เพื่อการศึกษา เช่นจากเครือข่าย GSM อย่างไรก็ต้องผ่านการปรับปรุงเครือข่ายให้มีเทคโนโลยี EDGE ก่อนจึงจะสามารถให้บริการ WCDMA ได้ในอนาคต ส่วนผู้ที่ให้บริการระบบ CDMA one ในปัจจุบันสามารถพัฒนาเครือข่ายไปเป็น CDMA20001X ได้เลย รายละเอียดต่างๆ จะอธิบายเพิ่มเติมในตอนต่อๆ ไปนะครับ

    (Source: www.itu.int)

Mobile Virtual Network Operators
    MVNOs (Mobile Virtual Network Operators) คือ ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อน ที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบการเป็นของตัวเอง รวมถึงไม่มีโครงข่ายสำหรับให้บริการกับลูกค้าเป็นของตัวเอง แต่เปรียบเสมือนว่าเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายหนึ่ง โดยผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเสมือนนี้ จะมีขีดความสามารถในการให้บริการได้ในระดับหนึ่ง จากการเช่าเครือข่ายของ Operator ต่างๆ ที่มีอยู่ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายตัวจริงอีกที เช่น หมายเลขโทรศัพท์ (ซิมการ์ด) โดยการให้บริการกับลูกค้าโดยตรงอย่างพวกเราไม่ขึ้นกับ Operator รายใดรายหนึ่งหรือระบบใดระบบหนึ่งเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น อาจเป็นระบบ GSM หรือCDMA ของ Operator รายใดก็ได้ โดยจะผันแปรไปตามความต้องการของตลาดที่ MVNOs นั้นต้องการจะดำเนินธุรกิจด้วย

    ผู้ให้บริการเสมือน MVNOs นี้จะทำตลาดในแบรนด์ของตัวเอง และสามารถให้บริการได้ทั้งในรูปแบบของเสียงและข้อมูล ข้อดีก็คือลูกค้า (Subscriber) ไม่จำเป็นต้องสนใจและรับรู้ว่าใครคือผู้ให้บริการเครือข่าย เพราะลูกค้าจะรู้เพียงว่าเขากำลังได้รับบริการจากแบรนด์ของผู้ให้บริการ เสมือน (MVNOs) เท่านั้น

    MVNOs มีการให้บริการครั้งแรกในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย แต่ไม่ประสบความสำเร็จ หลังจากนั้นในช่วงต้นของ 1990 ก็ได้มีการนำเอาแนวความคิดนี้มาสานต่ออีกครั้งหนึ่งโดยบริษัท MCI (ต่อมากลายเป็น WorldCom) แต่การให้บริการ MVNOs ที่ประสบความสำเร็จจริงๆนั้นได้เกิดขึ้นที่ประเทศอังกฤษโดยบริษัท Virgin Mobile ในปี 1999 และหลังจากนั้น การให้บริการ MVNOs ก็ได้แพร่หลายอย่างรวดเร็ว มีการนำเอาโมเดลของ MVNOs ไปใช้ในหลากหลายประเทศ เช่น อเมริกา ยุโรป เอเชียบางส่วน เช่น สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง

    สาเหตุของการเกิด ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่สายพันธุ์ใหม่ นั้นเกิดขึ้นจากการต้องการลดต้นทุนการดำเนินงานของผู้ให้บริการในระบบเดิม เช่น ค่าการจัดการส่วนของระบบเก็บเงิน (Billing) ค่าใช้จ่ายในการขาย การทำการตลาด รวมถึงค่าใช้จ่ายในส่วนของการให้บริการลูกค้า ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ทำให้รายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้หนึ่งคน (ARPU: Average Revenue Per User) ลดลงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าการเจริญเติบโตของยอดผู้ใช้จะเพิ่มขึ้นก็ตาม

    รูปแบบธุรกิจ MVNOs นั้น จะเข้ามามีส่วนในการดึงเอาค่าใช้จ่ายและค่าความเสี่ยงเหล่านั้นออกมาแบกรับ ไว้เอง ด้วยการนำเสนอ แอพพลิเคชั่นหรือทางเลือกใหม่ๆให้กับลูกค้า ทั้งนี้มีสิ่งสำคัญ สามประการที่ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายต่างๆยอมให้ MVNOs เข้ามาใช้เครือข่ายของตน นั่นก็คือ

    กลยุทธ์ การแยกลูกค้าออกเป็นกลุ่มๆ เพราะโดยข้อเท็จจริงแล้วสำหรับ ผู้ให้บริการรายเดิม เป็นไปได้ยากที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่มได้ แต่ MVNOs สามารถทำได้ และสามารถเข้าถึงลูกค้าที่เป็นหมายเฉพาะของ MVNOs นั้นต้องการทำตลาด

    ด้วยความสามารถของเครือข่ายที่มีอยู่ของผู้ให้บริการเครือข่ายเดิม รวมถึงขีดความสามารถใหม่ๆ เช่น ระบบ 3G MVNOs สามารถใช้กลยุทธ์ในการสร้างหรือเพิ่มขนาดของผู้ใช้งาน(economies of scale) ทำให้สามารถใช้งานระบบที่มีอยู่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

    MVNOs สามารถเข้ามาช่วยให้ผู้ให้บริการเครือข่าย เข้าถึงลูกค้าเป้าหมาย ได้ด้วยการตอบสนองต่อความต้องการแบบเฉพาะ ของกลุ่มลูกค้านั้นๆ ที่ปกติผู้ให้บริการเครือข่ายไม่เคยเข้าถึงเลย เช่น กลุ่มรักสัตว์ กลุ่มบ้านิยาย เป็นต้น

    จากเหตุผลข้างต้น จะพบว่าแท้จริงแล้ว MVNOs ไม่ได้เกิดขึ้นมาเพื่อเป็นคู่แข่งกับ Operator ที่มีอยู่เดิมเลย แต่กลับเป็นเหมือนพระเอกขี่ม้าขาวมาช่วย มากกว่า เพราะ MNOs นั้นกำลังจะแย่ จากการทำสงครามการแข่งขันชองความได้เปรียบกันอยู่ในปัจจุบัน

    วิวัฒนาการของ MVNOs ที่มีจุดเริ่มต้นจากการเป็นเพียงผู้ขายบริการให้กับ Operators อีกทอดหนึ่งโดยใช้แบรนด์ของตัวเองเป็นหลัก จะมีเพียงระบบบางส่วนที่ MVNOs ลงทุนสร้างขึ้น เช่น Application Server สำหรับให้บริการลูกค้า โดยไม่ต้องลงทุนด้านอุปกรณ์โครงข่ายใดๆ

    จาการศึกษาพบว่า MVNOs ได้ถูกพัฒนาให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น ด้วยการลงทุนในอุปกรณ์สำหรับเครือข่ายเช่น อุปกรณ์ switching ระบบเก็บเงิน (Billing) ระบบฐานข้อมูลลูกค้า เป็นต้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการจัดการรูปแบบการให้บริการที่ดีขึ้น โดยปัจจัยสำคัญ ที่สร้างโอกาส ให้กับ MVNOs ที่สำคัญคือ การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ การผ่อนคลายข้อกำหนดกฎหมายจาก Regulator ของ ประเทศนั้นๆ โดยยอมให้ประกอบกิจการได้โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตหรือไม่ต้องมีโครงข่ายของตัว เองได้ และรูปแบบการให้บริการเสริมที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าจากบริการพื้นฐานโดยมุ่งไป ทางด้าน Content และ IP-base เป็นหลัก

    ประเภทของ MVNOs แบ่งออกได้เป็น สองประเภทใหญ่ๆ คือ

    (1) Discount MVNOs คือประเภทที่ให้บริการด้วยราคาที่ต่ำมาก ไม่ว่าจะเป็นการใช้แบบ pre-paid หรือ post-paid เป็นการให้บริการพื้นฐานเช่น เสียงและข้อความสั้น (SMS) ซึ่งกลุ่มผู้ประกอบการที่ดำเนินกลยุทธ์ลักษณะนี้ เช่น Virgin Mobile and EasyMobile

    (2) Lifestyle MVNOs จะมุ่งเป้าหมายไปที่ตลาดที่มีลักษณะเป็นตลาดเฉพาะ โดยกลยุทธ์ที่ใช้ก็จะแปรผันไปตามกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้งาน เช่น กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มคนทำงาน เป็นต้น โดยให้บริการเสริมต่างๆที่โดนใจ กับผู้ใช้ในแต่ละกลุ่ม ซึ่งกลุ่มผู้ประกอบการที่ดำเนินกลยุทธ์ลักษณะนี้ เช่น Helio, Boost Mobile และ AMP'D Mobile ในอเมริกา และ Hello_MTV และ ID&T Mobile ในยุโรป ที่เจาะกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นวัยรุ่นเป็นหลัก

     ในปัจจุบันมียอดผู้ใช้บริการ (Subscriber) ที่เป็นลูกค้าของ MVNOs อยู่ประมาณ 2.75 เปอร์เซ็นต์ จากยอดผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลก และคาดการณ์ว่า จะมียอดผู้ใช้เพิ่มขึ้นเป็น 3.3 เปอร์เซ็นต์ หรือมากกว่า 100 ล้านคนในปี 2010 โดยวัดจากอัตราการเจริญเติบโตที่พุ่งสูงขึ้นในปี 2005 ที่มีผู้ใช้งานมากถึง 63 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ จากปี 2004 โดยมีฐานใหญ่อยู่ในประเทศอเมริกา กลุ่มประเทศยุโรป และกำลังขยายตัวมาทางเอเชีย เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ และอินเดีย เป็นต้น

    บริษัทที่ประสบความสำเร็จมากในวงการนี้ก็คือ เวอร์จิน โมบาย ซี่งเป็นผู้ประกอบการรายแรกๆ ที่นำเอา MVNOs Model มาใช้ และประสบความสำเร็จ เป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ ในปี 1999 หลังจากก็ได้เข้าไปขยายการลงทุนไปในหลายส่วนของโลก จนในปี 2004 ก็ เวอร์จิน กรุ๊ป ก็เข้าจดทะเบียนใน ตลาดหุ้น อังกฤษ โดยมีสาขาตามประเทศต่างๆ เช่น

United Kingdom ใช้เครือข่ายของ T-Mobile (Head Quarter)
USA ใช้เครือข่ายของ print CDMA network
Australia ใช้เครือข่ายของ Optus
France ใช้เครือข่ายของ Orange

    MVNOs นับ เป็นนวัตกรรมใหม่ที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เพื่อตอบสนองความต้องการในทั้งสองด้าน คือ ฝั่งผู้ให้บริการเครือข่าย และ ผู้บริโภคที่จะได้รับการให้บริการที่ตอบสนองต่อความต้องการที่แตกต่างกัน และมีแนวโน้มว่าจะเป็นโมเดลสำคัญที่หลายๆ บริษัทที่มีชื่อเสียง สนใจจะเข้ามาขอมีส่วนร่วม เช่น ESPN ที่โด่งดังด้านกีฬา ก็หันมาลงทุนทางด้านนี้ เช่นกัน

2 ความคิดเห็น:

  1. qreatjuice
    Said

    เงื่อนไขคือถ้าไม่ครบ 5 คน ในกลุ่ม ยืนยันผ่าน sms ครบ และชวนเพื่อนอีกอย่างละ 5 คนมาครบ ก็จะไม่ได้รับซิม 365 คิดแบบนี้ ฟังดูไม่มีจะได้รับซิมสักคนสิ ลูกโซ่ไม่สมบรูณ์ ก็ไม่ได้สักคน

    30 พฤศจิกายน, 2552 21:57
  2. Pakorn
    Said

    gravatar

    ก็จริงครับ.. แต่ผมถาม support ไปแล้ว ไม่ค่อยเคลียร์เหมือนกันครับ http://blog.pakorn.net/2009/11/sim-3g-365-communication.html

    30 พฤศจิกายน, 2552 21:59

แสดงความคิดเห็น

 
Related Posts with Thumbnails